เรซิ่นสีเทา (E2)

เครื่องพิมพ์ที่เข้ากันได้: Nobel Superfine

สีมืดและสีขุ่นจะแสดงรายละเอียดได้ดี ซึ่งเป็นวัสดุที่เหมาะสมในการทำชิ้นงานต้นแบบ

เคล็ดลับการออกแบบแบบจำลอง

โปรดปฏิบัติตามข้อมูลจำเพาะสำหรับการออกแบบที่นี่ เมื่อออกแบบโมเดล เพื่อให้ได้ผลการพิมพ์ที่ดีที่สุดและให้รายละเอียดการออกแบบที่สมบูรณ์

คำแนะนำสำหรับการใช้งาน

โปรดตรวจสอบว่าส่วนผสมเรซิ่นผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกันก่อนที่จะเริ่มงานพิมพ์ทุกครั้งเพื่อให้เรซิ่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโปรดปฏิบัติตามขั้นตอนด้านล่างนี้ก่อนเริ่มการพิมพ์

ก่อนการใส่ขวดใหม่

ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านล่างเพื่อให้มั่นใจว่าสีของวัสดุเรซิ่นมีสีเสมอกัน:

ขันฝาเดิมให้แน่นสนิท วางขวดคว่ำลงเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นให้เขย่าขวดอีกประมาณ 5 นาที

ก่อนเริ่มงานพิมพ์ทุกครั้ง

ให้คนเรซิ่นที่เหลืออยู่ในถังก่อนเริ่มงานพิมพ์ทุกครั้ง

โปรดทราบว่าผิวเคลือบบริเวณก้นถังเรซิ่นอาจเสียหายได้หากสัมผัสเข้ากับเครื่องมือที่มีความแหลมคมหรือแข็ง โดยโปรดปฏิบัติตามขั้นตอนด้านล่างนี้เพื่อคนเรซิ่น

วิธีที่ 1: คนเรซิ่นด้วยไม้ขูดซิลิโคน

วิธีที่ 2: ใส่ถุงมือป้องกันความร้อนแล้วคนเรซิ่นด้วยนิ้วมือ

เมื่อผสมเรซิ่นเข้ากันดีแล้ว เรซิ่นควรมีลักษณะดังภาพด้านล่างนี้:

หมายเหตุ
» ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษขณะทำการคนเรซิ่น หลีกเลี่ยงการขีดข่วนเข้ากับเคลือบผิวที่อยู่บริเวณก้นถัง
» ตรวจสอบระดับเรซิ่นในถังก่อนทำการพิมพ์ เติมเรซิ่นจนกว่าวัสดุจะถึงเครื่องหมายระดับ "Max (สูงสุด)" บนถัง

» หากเรซิ่นถูกทิ้งค้างไว้ในขวดนานกว่า 24 ชั่วโมงโดยมีการใช้งานบ้าง โปรดเปลี่ยนเป็นฝาเดิม คว่ำขวด แล้วเขย่าขวดประมาณ 5 นาทีก่อนทำการพิมพ์

การเก็บรักษาเรซินที่ยังไม่แข็งตัว

เรซิ่นที่ไม่ยังไม่ได้อบในถังเรซิ่นไม่ควรสัมผัสกับแสง โดยหากเรซิ่นถูกทิ้งค้างไว้ในถังโดยไม่ได้ใช้งานนานกว่า 24 ชั่วโมง ให้เก็บเรซิ่นไว้ในภาชนะที่สะอาดหลังจากที่ทำการกรองแล้ว หลีกเลี่ยงการสัมผัสเข้ากับแสงแดดหรือแสง UV

และให้เทเรซิ่นลงในถังเรซิ่นก่อนทำการพิมพ์ครั้งถัดไป

หมายเหตุ
» เราแนะนำให้ใช้ภาชนะโพลียูรีเทนทึบแสงในการเก็บรักษาเรซิ่น
» ให้คว่ำและเขย่าภาชนะที่ใส่เรซิ่นที่ยังไม่ได้ใช้งานประมาณ 5 นาที จากนั้นเทกลับลงในถังทันทีก่อนที่จะทำการพิมพ์ครั้งถัดไป

คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับแต่ง

โปรดอ่านคู่มือสำหรับประมวลผลโพสต์ที่นี่

โหมดผู้ใช้งาน

ในโหมดผู้ใช้งาน คุณสามารถสร้างชิ้นส่วนรองรับตั้งแต่ต้น หรือใช้เพื่อปรับชิ้นส่วนรองรับที่สร้างขึ้นในโหมดอัตโนมัติได้

ในโหมดอัตโนมัติ ชิ้นส่วนรองรับทั้งหมดที่จุดเชื่อมต่อจะมีขนาดเท่ากันหมด ซึ่งคุณอาจต้องเปลี่ยนขนาดของจุดเชื่อมต่อตามคุณลักษณะของวัตถุ

(A) คุณอาจต้องใช้จุดเชื่อมต่อขนาดใหญ่สำหรับชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมาก

(B) จุดเชื่อมต่อขนาดเล็กนั้นเพียงพอแล้วสำหรับการยึดโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา และยังง่ายต่อการดำเนินการหลังการพิมพ์อีกด้วย

การแก้ไขชิ้นส่วนรองรับโดยผู้ใช้งาน

ขั้นตอนที่ 1: ปรับขนาด หมุนและ/หรือย้ายวัตถุตามที่คุณต้องการพิมพ์

กระนั้นก็ตาม หากคุณสร้างชิ้นส่วนรองรับไว้ด้วยโหมดอัตโนมัติ คุณจะสามารถขยับวัตถุได้ในแนวนอนเท่านั้น ซึ่งหากคุณปรับเปลี่ยนวัตถุในรูปแบบอื่น ๆ ชิ้นส่วนรองรับต่าง ๆ จะถูกรีเซ็ตใหม่

ขั้นตอนที่ 2: ตั้งค่าด้านล่างตามคุณลักษณะของวัตถุ

หากคุณเพิ่มชิ้นส่วนรองรับในโหมดอัตโนมัติ ชิ้นส่วนรองรับจะปรากฏขึ้นเป็นจุดสีน้ำเงินในโหมดการแก้ไขโดยผู้ใช้งาน

ในการเพิ่มชิ้นส่วนรองรับ คุณเพียงแค่เลือกขนาดของจุดเชื่อมต่อที่เหมาะสมแล้วคลิกที่จุดยื่นของแบบจำลอง

หากคุณต้องการลบชิ้นส่วนรองรับก็เพียงคลิกที่เครื่องหมายชิ้นส่วนรองรับ (จุดสีน้ำเงิน)

ขั้นตอนที่ 3: คลิก “Generate”(สร้าง) เพื่อสิ้นสุดการแก้ไข

หมายเหตุ
» เมื่อมีวัตถุบนแท่นพิมพ์มากกว่าหนึ่งชิ้น คุณต้องเลือกแบบจำลองชิ้นใดชิ้นหนึ่งก่อนที่คุณจะสามารถเปิดตัวเลือกชิ้นส่วนรองรับได้
» หากวัตถุมีการปรับขนาด หมุน หรือย้ายเป็นแนวตั้ง ระบบจะรีเซ็ตชิ้นส่วนรองรับใหม่ ดังนั้น โปรดตั้งค่าชิ้นส่วนรองรับใหม่อีกครั้ง

โหมดอัตโนมัติ

ในโหมดอัตโนมัติ ซอฟต์แวร์จะวิเคราะห์คุณลักษณะของแบบจำลองและเพิ่มโครงสร้างรองรับได้ในกรณีที่จำเป็น

ในการเพิ่มชิ้นส่วนรองรับโดยอัตโนมัติ

ขั้นตอนที่ 1: ปรับขนาด หมุนและ/หรือย้ายวัตถุตามที่คุณต้องการพิมพ์

การวางแนวของวัตถุเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้การพิมพ์ประสบความสำเร็จ โดยมีการหมุนวัตถุด้านบนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านล่างต่อไปนี้:

(A) ส่วนที่หนักที่สุดอยู่ห่างจากด้านล่าง

วัตถุอาจตกหล่นได้ง่ายหากส่วนที่หนักที่สุดอยู่ห่างจากด้านล่างเนื่องจากแรงลอก และยังจำเป็นต้องมีโครงสร้างรองรับที่มีน้ำหนักมากเพื่อยึดวัตถุทั้งหมดไว้ให้มั่นคงอีกด้วย โดยแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการหมุนวัตถุเพื่อย้ายส่วนที่หนักที่สุดไปไว้ด้านล่าง

(B) โครงสร้างแนวนอน

ชิ้นส่วนรองรับของโครงสร้างแนวนอนบนแท่นพิมพ์อาจห้อยย้อยได้ ซึ่งเป็นลักษณะตามธรรมชาติของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ SLA

ขั้นตอนที่ 2: ตั้งค่าด้านล่างตามคุณลักษณะของวัตถุ

Density (ความหนาแน่น) : สิ่งที่แขวนที่มีขนาดใหญ่จะต้องใช้โครงสร้างการค้ำยันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการค้ำยันที่มากขึ้นจะใช้เวลาในการพิมพ์ที่นานขึ้น

(A) ความหนาแน่นต่ำ

(B) ความหนาแน่นปานกลาง

(C) ความหนาแน่นสูง

Contact (จุดเชื่อมต่อ): จุดเชื่อมต่อที่หนากว่าจะมีความแข็งแรงมากกว่า แต่อาจต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการนำจุดเชื่อมต่อออกในขั้นตอนการดำเนินการหลังการพิมพ์

(A) จุดเชื่อมต่อขนาดเล็ก / 0.4 มม

(B) จุดเชื่อมต่อขนาดกลาง / 0.9 มม

(C) จุดเชื่อมต่อขนาดใหญ่ / 1.3 มม

Lift (การยก): การยกวัตถุลอยตัวขึ้นเหนือแท่นพิมพ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพิมพ์ที่ไม่มีพื้นราบหรือไม่เหมาะสำหรับการวางบนแท่นพิมพ์ ทั้งนี้ โปรดตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีชิ้นส่วนรองรับเพียงพอที่จะยึดวัตถุให้อยู่บนแท่นพิมพ์ไว้ก่อนการพิมพ์

Inner Support (ชิ้นส่วนรองรับด้านใน): เมื่อคุณเลือก “ชิ้นส่วนรองรับด้านใน” ระบบจะเพิ่มชิ้นส่วนรองรับด้านในสำหรับวัตถุที่มีโครงสร้างที่ยื่นเข้าไปด้านใน ทั้งนี้ หากเป็นโครงสร้างบางแบบที่มีช่องเปิดขนาดเล็กคุณอาจนำชิ้นส่วนรองรับด้านในออกได้ไม่ง่ายนัก ซึ่งคุณอาจพิจารณาเลือกใช้การพิมพ์โดยไม่มีชิ้นส่วนรองรับด้านในแทน

(A) ไม่มีชิ้นส่วนรองรับด้านใน

(B) มีชิ้นส่วนรองรับด้านใน

ขั้นตอนที่ 3: คลิก “Auto Generate (สร้างอัตโนมัติ)” เพื่อเพิ่มชิ้นส่วนรองรับ

หมายเหตุ
» เมื่อมีวัตถุบนแท่นพิมพ์มากกว่าหนึ่งชิ้น คุณต้องเลือกแบบจำลองชิ้นใดชิ้นหนึ่งก่อนที่คุณจะสามารถเปิดตัวเลือกชิ้นส่วนรองรับได้
»หากวัตถุมีการปรับขนาด หมุน หรือย้ายเป็นแนวตั้ง ระบบจะรีเซ็ตชิ้นส่วนรองรับใหม่ ดังนั้น โปรดตั้งค่าชิ้นส่วนรองรับใหม่อีกครั้ง
» หากคุณต้องการเปลี่ยนขนาดหรือตำแหน่งของโครงสร้างรองรับแต่ละชิ้น โปรดแก้ไขในโหมดผู้ใช้งาน

Tree Support

XYZware_Nobel ได้เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ “Tree Support” [ซัพพอร์ตทรงต้นไม้] กรุณาอัพเดทซอพแวร์เวอร์ชั่นล่าสุดเพื่อใช้งานฟังก์ชั่นนี้

จุดสัมผัสระหว่าง Tree Support และชิ้นงานสามมิตินั้นน้อยมาก ออกแบบสำหรับรายละเอียดเล็กๆของเครื่องประดับโดยเฉพาะเพื่อยึดรายละเอียดเล็กๆให้สร้างขึ้นได้อย่างมั่นคง

โครงสร้างของ Tree Support

(A) จุดสัมผัส: จุดที่ Tree Support สัมผัสกับชิ้นงานสามมิติเพื่อการซับพอร์ต ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่อาจต้องเพิ่มพื้นที่การสัมผัสเพื่อการขึ้นรูปอย่างมั่นคง

(B) Branch [ก้าน]: ก้านเป็นส่วนบางๆของโครงสร้าง Tree Support ที่เชื่อมต่อกับชิ้นงานสามมิติโดยตรง

(C) Trunk [ลำต้น]: ลำต้น หรือฐานล่างสุดของโครงสร้าง Tree Support

วิธีการตั้งค่า Tree Support

ขั้นตอนที่ 1: ตั้งค่า Trunk [ลำต้น]

เลือกพื้นที่บนฐานพิมพ์งานที่ต้องการเพิ่มลำต้นและคลิ๊ก 1ครั้งเพื่อเพิ่มลำต้น

หากต้องการเคลื่อนย้ายลำต้น คลิ๊กค้างและลากเพื่อเคลื่อนย้าย

หากต้องการลบลำต้น คลิ๊กที่ลำต้น 1ครั้งก็จะสามารถลบได้

ขั้นตอนที่ 2: ตั้งค่า Branch [ก้าน]

เลือก Branch [ก้าน] จากนั้นเลือกลำต้นที่ต้องการสร้างก้านหนึ่งครั้ง จากนั้นเลือกตำแหน่งบนชิ้นงานที่ต้องการเชื่อมต่อก้าน ระบบจะสร้างก้านขึ้นตรงตำแหน่งที่เลือก

หากต้องการลบก้าน คลิ๊กที่ก้านเพื่อลบออก

ขั้นตอนที่ 3: หลังจากตั้งค่าเสร็จสิ้น กด Generate [ผลิต]

ขั้นตอนที่ 4: ปรับแก้ไขจุดสัมผัสของก้านหากจำเป็น

หากต้องการแก้ไขจุดสัมผัสของก้าน กลับไปยังเมนู Support [สนับสนุน] > Tree จากนั้นเลือก Contact Area [จุดเชื่อมต่อ]

เลือกก้านที่ต้องการแก้ไขหนึ่งครั้ง (ก้านที่ถูกเลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน) จากนั้นลากแถบเลื่อนเพื่อปรับแก้ไขพื้นที่จุดเชื่อมต่อ

เลือก Done [เสร็จสิ้น] หลังปรับแก้ไขเสร็จสิ้น

เทคนิค
หากต้องการแก้ไขก้านทั้งหมดบนลำต้นในเวลาเดียวกัน เลือก Contact Area [จุดเชื่อมต่อ] จากนั้นนเลือก Trunk [ลำต้น] เพื่อเลือกก้านทั้งหมด

ข้อควรระวัง

1. หากไม่ได้เลือกลำต้นขณะตั้งค่าก้าน ระบบจะทำเครื่องหมายสีเหลืองบนตำแหน่งก้านก่อน เมื่อทำการเลือกลำต้นที่ต้องการ เครื่องหมายก้านจึงจะเชื่อมต่อกับลำต้นที่ระบุ

2. เครื่องหมายก้านต้องสูงกว่าจุดสูงสุดของลำต้นที่เลือก

3. การตั้งค่าก้านจะไม่สามารถใช้งานได้เมื่อไม่มีการเพิ่มลำต้น กรุณาตั้งค่าลำต้นก่อนเพิ่มก้าน

4. ก้านที่มีความลาดชันมากกว่า 45 องศาจะปรากฏเป็นสีแดง เนื่องจากก้านเหล่านี้อาจคลาดเคลื่อนได้ในกระบวนการพิมพ์

5. ระบบจะทำการลบลำต้นที่ไม่มีกิ่งเชื่อมต่อออกขณะสร้างส่วนรองรับ

Cone Support


XYZware_Nobel ได้เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ “Cone support” [ซัพพอร์ตทรงกรวย] กรุณาอัพเดทซอพแวร์เวอร์ชั่นล่าสุดเพื่อใช้งานฟังก์ชั่นนี้

Cone support มีความหนากว่าซัพพอร์ตเดิม ใช้สำหรับเพิ่มฐานทรงกรวยให้กับชิ้นงานเรซิ่นชนิดหล่อได้ หลังจากพิมพ์งานเสร็จสิ่น ปล่อยซัพพอร์ตทรงกรวยไว้เพื่อการหล่อ

Cone support สามารถยึดชิ้นงานกับฐานพิมพ์ได้อย่างมั่นคงมากขึ้น เหมาะแก่การใช้กับฐานของชิ้นงานที่มีน้ำหนักมาก หากมีการใช้ Cone support หลังพิมพ์งานเสร็จสิ้น แนะนำให้ใช้กระดาษทรายหรืออุปกรณ์ขัดเพื่อขัด Cone support ออก หากดึงCone support ออกโดยตรงอาจทำให้พื้นผิวของชิ้นงานเสียหายได้

โครงสร้างของ Cone Supports

(A) จุดสัมผัส: ชิ้นงานสามมิติขนาดใหญ่จำเป็นต้องเพิ่มจุดสัมผัสเพื่อขึ้นรูปและรายละเอียดเหล่านี้ได้อย่างมั่นคง.

(B) เส้นผ่าศูนย์กลางพื้นผิวด้านบน :เส้นผ่าศูนย์กลางขั้นต่ำ 2มม.

(C) เส้นผ่าศูนย์กลางพื้นผิวฐาน :เส้นผ่าศูนย์กลางขั้นต่ำ 3มม. เส้นผ่าศูนย์กลางพื้นผิวฐานต้องมากกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางพื้นผิวด้านบนอย่างน้อย 1มม.

วิธีตั้งค่า Cone Supports

ขั้นตอนที่ 1: ตั้งเครื่องหมาย Cone Support (จุดสีส้ม)

คลิกที่ตำแหน่งพื้นของโมเดลเพื่อเพิ่มเครื่องหมายสีส้ม คลิกที่เครื่องหมายสีส้มอีกครั้งเพื่อลบออก

ขั้นตอนที่ 2: สร้าง Cone Support

หลังจากตั้งค่าเสร็จสิ้น กด Generate [ผลิต]

ขั้นตอนที่ 3: ปรับแก้ไขจุดสัมผัสของ Cone Support หากจำเป็น

หากต้องการแก้ไขจุดสัมผัสของ Cone Support กลับไปยังเมนู Support [สนับสนุน] > Cone จากนั้นเลือก Contact Area [จุดเชื่อมต่อ]

เลือกโคนที่ต้องการแก้ไขหนึ่งครั้ง (โดนที่ถูกเลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน) จากนั้นลากแถบเลื่อนเพื่อปรับแก้ไขพื้นที่จุดเชื่อมต่อ

เลือก Done [เสร็จสิ้น] หลังปรับแก้ไขเสร็จสิ้น

ข้อควรระวัง
1. Cone support จะใช้ได้ต่อเมื่อชิ้นงานมีพื้นที่ห่างจากฐาน 6มม.ขึ้นไป หากชิ้นงานใกล้กับฐานมากไป ซอฟแวร์จะยกชิ้นงานให้สูงขึ้นอัตโนมัติ
2. หลังจากสร้าง Cone support แล้วจะไม่สามารถปรับแก้ไขเส้นผ่าศูนย์กลางได้ หากต้องการปรับขนาด กรุณาลบเครื่องหมาย support เดิมออกก่อน แก้ไขเส้นผ่าศูนย์กลาง จากนั้นจึงเพิ่มเครื่องหมาย support ใหม่อีกครั้ง